อันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้จากเครื่องผลิตไอน้ำ (Boiler)

 

     เครื่องผลิตไอน้ำ หรือ Boiler คือ “เครื่องผลิตไอน้ำ คือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อความร้อน ที่มีความดันต่างจากบรรยากาศ” หรือในความหมายที่เป็น เครื่องผลิตไอน้ำ เพื่อส่งจ่ายไอน้ำร้อน 120 – 140 องศา หรือ 4-5 bar ไปยังเครื่องจักรที่ต้องการใช้ความร้อนในกระบวนการผลิต หรือในความหมายที่เป็น ลูกระเบิดจุน้ำ 120 – 140 องศา หรือ 4-5 bar นั่นเอง

Ga2  สาเหตุที่ทำให้หม้อไอน้ำระเบิดโดยทั่วๆ ไป สามารถสรุปได ้ดังนี้ คือ  1 น้ำแห้ง  หม้อ เนื่องจากช่างไฟไม่เอาใจใส่ เลินเล่อ ไม่ค่อยดูแลระดับน้ำในหม้อไอน้ำ ถ้า  เป็นหม้อไอน้ำสมัยใหม่ที่มีสัญญาณเตือนภัยระดับน้ำต่ำหรือสัญญาณดับไฟที่หัว  เผาไม่ทำงาน ส่วนบนของห้องเผาไหม้ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงจะร้อนแดงและยุบ  ตัวประกอบกับความดันไอน้ำภายใน ดันให้หม้อไอน้ำแตกระเบิดออกได้  2 หม้อ  ไอน้ำมีสภาพเก่ามาก เนื้อเหล็กบางจนทนความดันไอน้ำไม่ได้ 3 ลิ้นนิรภัย  (Safety Valve) ไม่ทำงาน ถ้าความดันไอน้ำในหม้อไอน้ำเกิดสูงขึ้น เกินความดัน  ไอน้ำใช้งาน และลิ้นนิรภัย (Safety Valve) ไม่เปิดให้ไอน้ำระบายออกความดัน  ไอน้ำในหม้อไอน้ำสูงขึ้นเกินกำลังความแข็งแรงของหม้อไอน้ำ หม้อไอน้ำอาจ  ระเบิดได้  4 มีตะกรัน (Scale) จับตามผิวเตาด้านสัมผัสกันน้ำมากเกินไป หรือผิว  เตาด้านสัมผัสกับไฟมีคราบน้ำมันจับหนาเกินไป ทำให้บริเวณนั้นได้รับความร้อน  จัดเนื้อโลหะบริเวณนั้นจะอ่อนตัว ความดันภายในหม้อไอน้ำจะดันให้หม้อไอน้ำแตกชำรุดได้  5 ช่องทางที่ก๊าซร้อนผ่านออกแคบลงเนื่องจากมีเขม่าจับมากเกินไป ก๊าซร้อนภายในเตาจะสะสมมากขึ้นๆ อาจทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ถ้าอุณหภูมิเนื้อโลหะสูงกว่า 600 F อาจทำให้เตายุบตัวพังได้

Ga3

อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยหม้อไอน้ำ

     แม้ว่าหม้อไอน้ำจะมีโครงสร้างที่แข็งแรง และประกอบขึ้นด้ว ยชิ้นส่วนที่จำเป็นครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังสามารถที่จะเกิดการระเบิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความ

 

Ga4ปลอดภัยเพิ่มเข้าไปด้วย ดังนี้ 

1.ลิ้นนิรภัย เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของหม้อไอน้ำ ใช้สำหรับป้องกันหม้อไอน้ำระเบิด เนื่องจากความดันสูง โดยทำหน้าที่ระบายไอน้ำออกไปภายนอก เมื่อเกิดภาวะที่ความดันภายในหม้อน้ำสูงเกินกว่าที่ ตั้งไว้ โดยลิ้นนิรภัย มี 3 แบบ คือแบบสปริง แบบน้ำหนักถ่วงโดยตรง และแบบคานน้ำหนัก โดยการเลือกใช้ควรเลือกลิ้นนิรภัยที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของบ่าลิ้น ไม่ต่ำกว่า ½ นิ้ว และควรติดตั้งลิ้นนิรภัยไว้ใกล้หม้อไอน้ำมากที่สุด และไม่มีวาล์วคั่น ในกรณีที่หม้อไอน้ำมีพื้นที่รับความร้อนมากกว่า 500 ตารางฟุต ควรมีลิ้นนิรภัย 2 ชุด   

2.ฝานิรภัย เป็นอุปกรณ์นิรภัยที่ใช้กับหม้อไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงเหลวหรือก๊าซ ช่วยป้องกันแรงกระแทกที่เกิดจากการระเบิดของแก๊สที่ค้างอยู่ในห้องเผาไหม้ มิฉะนั้นแล้วชุดหัวฉีดจะชำรุดได้ สามารถติดตั้งได้ที่ด้านหน้า ด้านข้างหรือด้านหลังของหม้อไอน้ำ

3.เครื่องควบคุมระดับน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ควรติดตั้งไว้กับหม้อ ไอน้ำทุกเครื่อง โดยเฉพาะหม้อไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำในหม้อไอน้ำให้อยู่ในช่วงที่กำหนด นิยมใช้กันอยู่ 2 แบบ คือ แบบอิเล็กโทรด และแบบลูกลอยสวิตซ์ควบคุมความดัน ทำหน้าที่ควบคุมความดันภายในหม้อไอน้ำให้อยู่ในช่วงที่กำหนดหรือตั้งไว้ การทำงานจะอาศัยความดันควบคุมหัวฉีด 

4.เครื่องดักไอน้ำ ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์อัตโนมัติ สำหรับระบายน้ำที่ค้างอยู่มากในท่อ ให้ออกไปภายนอก สาเหตุที่ควรติดตั้ง เพราะไอน้ำที่ออกจากหม้อไอน้ำ เมื่อสัมผัสกับท่อจ่ายไอน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำ ก็จะเกิดการกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำค้างอยู่ตามท่อ ถ้าปริมาณน้ำที่ค้างอยู่มาก ก็จะทำให้เกิดอันตราย และทำให้ประสิทธิภาพของไอน้ำลดลง

5.สัญญาณเตือนภัยอัตโนมัติ เป็นอุปกรณ์แจ้งอันตรายเมื่อระดับน้ำในหม้อน้ำต่ำกว่าที่ใช้งานปกติ โดยสามารถที่จะติดตั้งร่วมกับเครื่องควบคุมระดับน้ำ หรือบางชนิดอาจติดตั้งแยกต่างหากก็ได้ โดยสัญญาณที่เตือนภัยมีทั้งที่เป็นแบบเสียง และแบบแสง

 

Ga5

การตรวจสอบหม้อน้ำและระบบไอน้ำ ตามมาตราฐาน

1.ต้อง ถ่ายรูปให้เห็นหน้าวิศวกรผู้ตรวจทดสอบหม้อน้ำ ขณะกำลังทำการตรวจ และต้องแนบรูปถ่ายนี้ พร้อมเอกสารรับรองความปลอดภัย ในการใช้หม้อน้ำ ส่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม

2.ต้อง หยุดการใช้หม้อน้ำเพื่อทำการตรวจสอบความปลอดภัย ผู้เกี่ยวข้องและผู้ควบคุมหม้อจะต้องอยู่ในวันที่ทำการตรวจทดสอบ

3.ต้อง ตรวจสอบหม้อไอน้ำภายนอก ( External Inspection )

4.ต้อง ตรวจสอบหม้อน้ำภายใน ( Internal Inspection )

5.ต้อง ทดสอบความแข็งแรงหม้อน้ำด้วยการอัดน้ำ ( Hydrostatic Test )

6.ต้อง ทำการตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ (Function Test)

7.ต้อง ทำการตรวจอุปกรณ์ทั่วไป ( General Equipment )

8.ต้อง กรอกข้อมูลหม้อน้ำลงในแบบที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดเรียบร้อย และผู้ประกอบกิจการโรงงานลงนามพร้อมประทับตรายาง (กรณีเป็นนิติบุคคล) แล้วส่งต้นฉบับไปให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมพิจารณา ภายใน 30 วันหลังการตรวจทดสอบ 

ข้อเสนอแนะมาตรการปรับปรุง

๐ ควรดูตู้ควบคุมของหม้อน้ำให้ใช้งานได้ตามปกติ

๐ ต้องปรับแก้ให้ระบบออโตเมติกของหม้อน้ำทำงานได้ตามปกติทั้งระบบ และต้องเอาใจใส่ในการบำรุงรักษาให้ดี

๐ แบตเตอร์รี่กระแสไฟตรงและระบบทั้งหมดต้องได้รับการดูแลให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์

๐ อุปกรณ์ประกอบต่างๆ เช่น พัดลมดูดอากาศเข้าเตา เครื่องตรวจจับสัญญาณการเผาไหม้ และอุปกรณ์จุดเตาต้องได้รับการ แก้ไขให้ใช้งานได้ตามปกติ

๐ ต้องจัดให้มีระเบียบวิธีบำรุงรักษาเชิงป้องกันอย่างมีระบบให้กับอุปกรณ์ต่างๆ

๐ ต้องปฏิบัติตามระเบียบวิธีในการตรวจสอบและซ่อมบำรุงประจำปี

๐ ควรเพิ่มจำนวนการฝึกอบรมพนักงานปฏิบัติงานและช่างซ่อมบำรุงให้เพียงพอต่อการควบคุมและบำรุงรักษาเครื่อง

Ga6

 

กฎหมายเกี่ยวกับ Boiler

กฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535)ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535

     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 8 (7) แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 การรายงานข้อมูลต่าง ๆ ของโรงงานที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ 2 โรงงานที่มีการใช้หม้อไอน้ำ (boiler) หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวหรือก๊าซเป็นสื่อนำความร้อนที่มีความกดดันต่างจากบรรยากาศ ต้องจัดทำรายงานข้อมูลการตรวจและการทดสอบความปลอดภัยในการใช้ ข้อ 3 โรงงานที่ประกอบกิจการสร้างหรือซ่อมหม้อไอน้ำ (boiler) หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวหรือก๊าซเป็นสื่อนำความร้อนที่มีความกดดันต่างจากบรรยากาศ ต้องจัดทำรายงานข้อมูลการผลิต การตรวจ และการทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ข้อ 4 โรงงานที่มีผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ต้องจัดทำรายงานข้อมูลการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ การวิเคราะห์ปริมาณสารมลพิษในระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ และการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ข้อ 5 โรงงานที่มีการใช้สารกัมมันตรังสี ต้องจัดทำรายงานข้อมูลเกี่ยวกับชนิด จำนวน แหล่งที่มา วิธีการใช้ และการเก็บรักษาสารกัมมันตรังสี ข้อ 6 ให้โรงงานที่มีการผลิต การเก็บ หรือการใช้วัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย ต้องจัดทำข้อมูลความปลอดภัย (material safety data sheet)เกี่ยวกับลักษณะอันตรายตามคุณสมบัติของวัตถุนั้น ๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก 

ฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ 

เรียบเรียงโดย นายบรรณกร สัณฐมิตร และทีมงานศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอ  

face-book : ศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอ สิ่งทอ

 

Visitors: 81,927